1. ขอบเขตการใช้บังคับ
1.1 คำเสนอ การขาย การส่งมอบ และบริการต่าง ๆ ของบริษัท เวิร์ทเก้น (ประเทศไทย) จำกัด (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้ผลิต”) ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขฉบับนี้เท่านั้น ข้อกำหนดและเงื่อนไขของฝ่ายลูกค้าที่ขัดหรือแย้งกับสัญญาฉบับนี้มิให้นำมาใช้บังคับแม้ผู้ผลิตจะจัดหาสินค้าอย่างไม่มีเงื่อนไขให้แก่ลูกค้าโดยรู้ว่าข้อกำหนดและเงื่อนไขของลูกค้านั้นขัดหรือแย้งก็ตาม ข้อกำหนดและเงื่อนไขใดที่ขัดกับเงื่อนไขเรื่องการขายและการจัดหาสินค้าให้ฉบับนี้จะมีผลต่อเมื่อผู้ผลิตยืนยันรับรองเป็นหนังสือแล้วเท่านั้น
1.2 ให้นำข้อกำหนดและเงื่อนไขเรื่องการขายและการจัดหาสินค้าให้ไปใช้กับการทำธุรกรรมในอนาคตที่มีลักษณะเดียวกันกับลูกค้าเดียวกันโดยไม่จำเป็นต้องทำข้อตกลงใดโดยเฉพาะเพิ่มเติม
1.3 การจัดทำบริการติดตั้งสิ่งของในสถานที่งานให้ตกอยู่ในบังคับของข้อกำหนดและเงื่อนไขเรื่องการบริการเช่นเดียวกับเรื่องการดำเนินงานติดตั้ง
2. คำเสนอและการทำสัญญา
2.1 กรณีผู้ผลิตทำคำเสนอ คำเสนอนั้นต้องมีการทำคำสนองกลับมาก่อนเสมอเว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้ง ประมาณการราคาเบื้องต้นมิใช่ราคาแท้จริงที่มีผลผูกพัน การจัดทำแนวคิดสำหรับการผลิตอุปกรณ์ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สินค้าที่ผลิตตามคำสั่ง”) คำเสนอในคราวแรก หรือประมาณการราคาเบื้องต้นมิให้จัดทำโดยมีค่าใช้จ่ายเว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผู้ผลิตขอสงวนสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกรณีต้องจัดทำแนวคิดการผลิต คำเสนอ หรือประมาณการราคาเบื้องต้นเพิ่มเติม เช่นเดียวกับร่างต้นแบบ กรณีไม่เกิดสัญญาจัดหาสินค้าเกิดขึ้น
2.2 สัญญาจัดหาสินค้าจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับคำสนองกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ผลิต กรณีเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือทำข้อตกลงประกอบสัญญา ต้องได้รับคำสนองกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ผลิตด้วยเช่นกัน
2.3 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับคำเสนอ รวมถึงภาพประกอบ ภาพร่าง รายละเอียดเรื่องน้ำหนักและขนาด หรือแนวคิดที่จัดทำไว้ ถือเป็นเพียงประมาณการเบื้องต้นเท่านั้น เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้งว่าให้มีผลผูกพัน
2.4 ผู้ผลิตสงวนสิทธิในความเป็นเจ้าของและลิขสิทธิ์ในภาพประกอบ ภาพร่าง แนวคิด ประมาณการราคา การคำนวณ และเอกสารอื่น ๆ ห้ามมิให้เผยแพร่เอกสารเหล่านี้ให้บุคคลภายนอกทราบเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ผลิตเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน และต้องส่งมอบคืนให้แก่ผู้ผลิตทันทีโดยไม่ชักช้าเมื่อผู้ผลิตร้องขอในกรณีต่อไปนี้
(i) หากสัญญาไม่เกิดขึ้น หรือ
(ii) ทันทีที่ดำเนินการตามคำสั่งซื้อเรียบร้อยแล้ว
3. ราคาซื้อขายและการชำระเงิน
3.1 เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำราคาที่ผู้ผลิตกำหนดมาใช้บังคับโดยไม่รวมค่าบรรจุของและสินค้า “ex works” ที่ยังไม่บรรทุก ลูกค้ามีหน้าที่ต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนการประกอบและการเริ่มต้น พร้อมด้วยค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตและค่าใช้จ่ายประจำอื่นที่จำเป็น
นอกจากนี้ ราคายังรวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ให้บริการหรือวันที่มีการขายสินค้าเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์
3.2 เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ชำระเงินเต็มจำนวนโดยผู้ผลิตไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และกำหนดชำระให้เป็นไปตามวันดังต่อไปนี้:
สินค้าที่ผลิตตามคำสั่ง: ถึงกำหนดชำระในวันที่ระบุไว้ในรายการชำระเงินที่ตกลงกันในฉบับแยกต่างหาก
ชิ้นส่วนประกอบ: ก่อนส่งมอบ ราคาสุทธิ
เครื่องจักร: ก่อนส่งมอบ ราคาสุทธิ
อะไหล่: ก่อนส่งมอบ ราคาสุทธิ
รายการอื่น ๆ: ภายใน 14 วันก่อนวันที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ ราคาสุทธิ
3.3 รับตั๋วเงินหรือเช็คสำหรับการชำระหนี้เท่านั้น การลดราคาและค่าใช้จ่ายตามใบเสร็จให้ตกแก่ลูกค้าเป็นผู้ออก
3.4 กรณีชำระด้วยเลตเตอร์ออฟเครดิต ให้นำข้อบังคับของ ICC เรื่อง “ระเบียบประเพณีและพิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเครดิตที่มีเอกสารประกอบ” (Uniform Customs and Practice for Documentary Credits) ที่เกี่ยวข้องตามที่แก้ไขฉบับล่าสุดมาใช้บังคับ
3.5 ลูกค้าไม่มีสิทธิขอหักกลบลบหนี้ ยึดหน่วงราคา หรือลดราคา เว้นแต่ผู้ผลิตไม่ยกข้อต่อสู้หรือมีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดหรืออุทธรณ์ไม่ได้ กรณีเดียวกันนี้ให้นำมาใช้สำหรับการยกข้อต่อสู้ว่าต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้าด้วย
3.6 กรณีลูกค้าผิดนัดชำระเงิน ผู้ผลิตมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดกึ่ง (7.5) ต่อปี
3.7 หากผู้ผลิตรู้ว่ามีพฤติการณ์ใดที่ทำให้ลูกค้าขาดความน่าเชื่อถือ ให้สิทธิเรียกร้องทั้งหลายที่ได้เลื่อนกำหนดชำระออกไปถึงกำหนดชำระทันที ในกรณีดังกล่าว ผู้ผลิตมีสิทธิเรียกให้วางเงินล่วงหน้าหรือวางประกันก็ได้
4. การส่งมอบ
4.1 วันต่าง ๆ (เช่น วันพร้อมส่งมอบของ วันส่งมอบของ วันเริ่มประกอบสินค้าหรือทดสอบสินค้า หรือวันพร้อมดำเนินการ และวันอื่น ๆ) รวมทั้งกำหนดการทั้งหลายให้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้เป็นกรณี ๆ ไป ลูกค้ามีหน้าที่ต้องให้ความร่วมมือในการเริ่มดำเนินการและปฏิบัติให้เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้โดยเฉพาะในเรื่องการจัดหาวัสดุ เอกสาร ใบอนุญาต การปล่อยสินค้าและการทดสอบ การปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขการชำระเงิน โดยเฉพาะเงินต่าง ๆ ตามที่ตกลงกันไว้ (cf. 3.2) หรือการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หากเงื่อนไขดังกล่าวไม่ได้รับการปฏิบัติให้ตรงเวลาและถูกต้อง ให้ขยายระยะเวลาออกไปเท่าระยะเวลาตามสมควร อย่างน้อยเท่าระยะเวลาที่ล่าช้าออกไป แต่กรณีดังกล่าวมิให้นำมาใช้หากความผิดเกิดจากฝ่ายผู้ผลิตแต่เพียงฝ่ายเดียว
4.2 การจะปฏิบัติให้เป็นไปตามระยะเวลาดังกล่าวได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าคู่ค้าของผู้ผลิตได้ส่งมอบสิ่งของให้แก่ผู้ผลิตอย่างถูกต้องและตรงเวลาหรือไม่โดยที่ผู้ผลิตต้องวางคำสั่งซื้ออย่างตรงเวลาและถูกต้องแล้ว
4.3 เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้เงื่อนไขการส่งมอบเป็นแบบ “ex work” โดยถือว่าสินค้าที่ผลิตตามคำสั่งแล้วเสร็จในเวลาที่ออกใบแจ้งเตือนว่าสินค้าพร้อมใช้งานแล้ว ในส่วนความสัมพันธ์ภายในกับผู้ผลิต ลูกค้าต้องเข้ารับหน้าที่ของผู้ผลิตตามข้อบังคับเรื่องการบรรจุภัณฑ์ (VerpackV) และต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ผลิตด้วย
4.4 ให้ถือว่ามีการปฏิบัติตามเงื่อนไขระยะเวลาการส่งมอบเมื่อสินค้าได้พ้นจากผู้ผลิตไปตลอดจนสภาพการเป็นสินค้าที่ผลิตตามคำสั่งหมดอายุแล้ว หรือมีการแจ้งว่าพร้อมส่งมอบสินค้าแล้ว สำหรับสินค้าที่ผลิตตามคำสั่ง ให้ถือว่าหนังสือแจ้งความพร้อมว่าสินค้าพร้อมใช้ปฏิบัติงานมีผลเสมือนเป็นหนังสือแจ้งว่าพร้อมส่งมอบสินค้า กรณีต้องมีคำสนองรับจึงจะเกิดสัญญา ให้วันที่มีคำสนองรับเป็นวันที่มีผล – เว้นแต่มีเหตุสมควรปฏิเสธไม่ให้คำสนองนั้นมีผล หรือมีหนังสือแจ้งว่าพร้อมส่งมอบสินค้า หรือมีหนังสือแจ้งความพร้อมว่าสินค้าพร้อมใช้ปฏิบัติงาน
4.5 ผู้ผลิตอาจส่งมอบสินค้าบางส่วนหรือปฏิบัติการชำระหนี้เพียงบางส่วนก็ได้
4.6 ความล่าช้าอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัย ซึ่งมีผลกระทบหลักต่อการจัดส่งส่วนประกอบ และทำให้ไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ เช่น ภาวะสงคราม การก่อการร้าย และการโจมตีจากการกระจายของโรคระบาด (เช่น Ebola, measles, SARS, MERS, Covid 19 หรือโรคร้ายอื่นๆในลักษณะใกล้เคียงกัน) และรวมถึง การกำหนดหรือการกักกันพื้นที่ ข้อจำกัดในการนำเข้าและส่งออก การนัดหยุดงาน การประท้วง ที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตชิ้นส่วนประกอบ (suppliers) ชึ่งต่อไปนี้ เรียกว่า “กรณีอันเป็นเหตุสุดวิสัย” การขยายเวลาในการจัดส่งตามเวลาที่ตกลงกันไว้แต่เดิม มีเหตุแห่งความล่าช้าในการส่งมอบ ถือเป็นเหตุอันพึงรับได้ และหากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากจนผู้ขายไม่สามารถรับได้ ผู้ขายขอสงวนสิทธิ์ในการเจรจาและตกลงร่วมกันเพื่อประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย
4.7 ผู้ผลิตไม่ถือว่าผิดนัดหากจัดหาสินค้าทดแทนให้ทันตามกำหนดเวลาส่งมอบในขณะนั้นจนถึงเวลาที่ส่งมอบจริง โดยที่สิ่งของที่นำมาทดแทนดังกล่าวต้องเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคของลูกค้าทุกประการ และผู้ผลิตต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดหาสินค้าทดแทนนั้นด้วย
4.8 ในกรณีที่ผู้ผลิตผิดนัด ลูกค้าต้องขยายระยะเวลาในการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่ผู้ผลิตออกไปตามสมควร
4.9 กรณีผู้ผลิตตกเป็นผู้ผิดนัด แม้การผิดนัดนั้นจะเกิดภายหลังระยะเวลาผ่อนผันก็ตาม และการผิดนัดนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ลูกค้า ลูกค้ามีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดนัดดังกล่าวเป็นเงินก้อนได้ ค่าเสียหายดังกล่าวมีจำนวนเท่ากับ 0.5% ต่อสัปดาห์ ตลอดระยะเวลาที่ส่งมอบล่าช้าแต่ต้องไม่เกินจำนวน 5% และกรณีสินค้าที่ผลิตตามคำสั่งต้องไม่เกิน 3% ของส่วนที่ส่งมอบล่าช้านั้นโดยคิดจากฐานราคา ex work สุทธิที่ไม่รวมค่าขนส่ง ค่าประกอบสินค้า หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่น ๆ ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้ตามเวลาที่กำหนดหรือตามสัญญาอันเนื่องมาจากความล่าช้านั้น ห้ามมิให้เรียกค่าเสียหายอื่นอันเนื่องจากการผิดนัดนอกจากค่าเสียหายตามที่กล่าวไว้นี้
กรณีลูกค้าปฏิบัติตามข้อยกเว้นตามกฎหมายด้วยการขยายระยะเวลาในการปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่ผู้ผลิตที่ผิดนัดเป็นครั้งที่สอง และผู้ผลิตมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขยายออกไปในรอบที่สอง ลูกค้ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
5. การโอนไปซึ่งความเสี่ยง การขนส่ง การผิดนัดตรวจรับสินค้า การพร้อมปฏิบัติงานของสินค้า
5.1 ให้ความเสี่ยงภัยโอนไปยังลูกค้าเมื่อสินค้าที่จะส่งมอบถูกจัดเตรียมไว้พร้อมสำหรับการมารับแล้ว หรือในกรณีสินค้าที่ผลิตตามคำสั่ง เมื่อผู้ผลิตแจ้งว่าพร้อมปฏิบัติการแล้ว (cf. ข้อ 4.3) และในกรณีส่งมอบสินค้าเพียงบางส่วนหรือผู้ผลิตตกลงปฏิบัติการชำระหนี้อย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น ชำระค่าขนส่งทางเรือ หรือส่งมอบสินค้าและติดตั้ง เป็นต้น ในกรณีจำเป็นต้องรับมอบสินค้า ความเสี่ยงภัยจะโอนไปต่อเมื่อมีการรับมอบแล้ว การรับมอบนี้ต้องกระทำทันทีภายในวันที่รับมอบสินค้า หรือภายหลังจากที่ผู้ผลิตแจ้งว่าพร้อมรับมอบสินค้าแล้ว ลูกค้าไม่มีสิทธิปฏิเสธที่จะรับมอบสินค้ากรณีพบความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย หากลูกค้าไม่แสดงเจตนารับมอบสินค้าแม้ไม่มีความชำรุดบกพร่องหรือมีความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ให้ถือว่ามีการแสดงเจตนารับมอบสินค้าภายหลังพ้นระยะเวลาหนึ่งเดือนนับจากแจ้งว่าพร้อมรับมอบสินค้า แต่ต้องแสดงเจตนาดังกล่าวอย่างช้าที่สุดภายในระยะเวลาหกเดือนหลังจากสินค้าออกจากโรงงานแล้ว (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ex work”) ในกรณีส่งมอบและประกอบสินค้าที่ผลิตตามคำสั่ง ให้ถือว่าการแจ้งว่าพร้อมปฏิบัติการมีผลเสมือนการแสดงเจตนารับมอบสินค้า
5.2 กรณีส่งสินค้าล่าช้าหรือไม่สามารถส่งมอบได้เนื่องจากพฤติการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต ให้ความเสี่ยงภัยโอนไปยังลูกค้านับจากวันที่แจ้งว่าพร้อมส่งมอบหรือรับมอบสินค้า แล้วแต่กรณี
5.3 เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ส่งมอบสินค้าโดยค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงของลูกค้าเอง
5.4 เมื่อลูกค้าร้องขอและด้วยค่าใช้จ่ายของลูกค้าเอง ผู้ผลิตต้องเอาประกันภัยสินค้าที่ส่งมอบเพื่อประกันภัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างส่งมอบ
5.5 หากลูกค้าตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ในการให้ความร่วมมือข้อหนึ่งข้อใด ผู้ผลิตมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ โดยเฉพาะค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแสดงเจตนารับมอบสินค้าล่าช้า เริ่มประกอบสินค้าและทดสอบสินค้าล่าช้า หรือพร้อมปฏิบัติการล่าช้า
5.6 กรณีใช้เงื่อนไขทางการค้า เช่น FOB CFR CIF เป็นต้น ให้ตีความเงื่อนไขดังกล่าวไปตาม Incoterms ของ ICC ฉบับล่าสุด
6. การยึดหน่วงกรรมสิทธิ์และการวางหลักประกัน
6.1 ผู้ผลิตมีสิทธิยึดหน่วงกรรมสิทธิ์สินค้าไว้ได้จนกว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ผลิตที่มีต่อลูกค้าตามความสัมพันธ์ในทางธุรกิจ รวมถึงสิทธิเรียกร้องในอนาคต และสัญญาที่ทำขึ้นพร้อมกันหรือที่ทำขึ้นในภายหลัง ได้รับชำระเรียบร้อยแล้ว เงื่อนไขนี้ให้นำมาใช้บังคับกรณีสิทธิเรียกร้องเพียงอย่างเดียวหรือทั้งหมดได้นำมาคำนวณและมีการระบุยอดและรับรองยอดแล้วด้วย ในกรณีลูกค้าผิดสัญญา โดยเฉพาะในส่วนผิดนัดชำระหนี้หลังจากได้แจ้งเตือนแล้ว ผู้ผลิตมีสิทธิเรียกสินค้าคืนพร้อมแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาและลูกค้ามีหน้าที่ต้องส่งมอบสินค้านั้นคืนด้วย
6.2 ลูกค้ามีสิทธิจำหน่ายสินค้าออกไปในทางปกติทางการค้าตามทางปกติธุรกิจได้ตราบใดที่เงื่อนไขเรื่องการวางหลักประกันตามข้อ 6.3 6.4 และ 6.5 ได้รับการปฏิบัติตาม ผู้ผลิตมีสิทธิเลิกความสัมพันธ์ทางธุรกิจทั้งหมดกับลูกค้าทันทีหากมีการผิดหน้าที่ตามความที่กล่าวไว้ดังกล่าวแล้ว
6.3 ผู้ผลิตกับลูกค้าขอตกลงต่อกันว่าเมื่อทำสัญญาจัดหาสินค้าแล้ว ให้สิทธิเรียกร้องทั้งหลายของลูกค้าตามสัญญาขายต่อหรือสัญญาให้บุคคลภายนอกเช่าสินค้าที่ส่งมอบให้แล้วหรือโดยเหตุอื่นใดตามกฎหมาย (เช่น ตามสัญญาประกันภัย หรือตามมูลหนี้ละเมิด เป็นต้น) โอนไปยังผู้ผลิตเพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเรียกร้องทั้งหลายของผู้ผลิตที่มีกับลูกค้าต่อไป ลูกค้าขอโอนสิทธิเรียกร้องทั้งหลาย รวมถึงสิทธิข้างเคียง (ancillary rights) ซึ่งลูกค้ามีอยู่ตามสัญญาขายต่อหรือสัญญาให้บุคคลภายนอกเช่าสินค้าที่ส่งมอบให้แล้ว ผู้ผลิตขอยอมรับตามเงื่อนไขดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ลูกค้ามีสิทธิเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องที่โอนไปไว้จนกว่าผู้ผลิตจะร้องขอให้เปิดเผย ลูกค้าไม่มีสิทธิโอนสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่ผู้ผลิตแล้วนี้ให้แก่บุคคลภายนอกอื่นใด ลูกค้ามีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่นในสินค้า ส่วนของเครื่องจักร ส่วนประกอบของเครื่องจักร และเครื่องจักรที่ใช้งานแล้ว ไม่ว่าประเภทใด เพื่อแทนหน้าที่ในการชำระเงินตามสัญญาขายต่อให้แก่ผู้ผลิต ณ ขณะเวลาที่ลูกค้าได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่นใดดังกล่าว ลูกค้าต้องจัดเก็บ รักษาอย่างระมัดระวัง และเอาประกันสินค้าดังกล่าวตามสมควรในนามของผู้ผลิต (ดูข้อ 6.7)
6.4 หากหลักประกันตามที่ระบุไว้ในข้อ 6.1 6.2 และ 6.3 ไม่ได้รับการยอมรับหรือไม่เป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่สินค้านั้นตั้งอยู่ ลูกค้ามีหน้าที่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในทุกขั้นตอน (โดยเฉพาะการจดทะเบียนหรือหน้าที่ในการแจ้งเตือน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในการแสดงเจตนา เพื่อให้ข้อสัญญาเรื่องการให้หลักประกันเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้ผลิตมีสิทธิยึดหน่วงสินค้าหรือสอดเข้าเกี่ยวในการประกอบหรือทดสอบสินค้าจนกว่าการให้หลักประกันจะมีผลผูกพันตามกฎหมาย กรณีการให้หลักประกันไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายในท้องถิ่นหรือพ้นวิสัยไม่ว่าด้วยเหตุใด ลูกค้าขอรับรองว่าจะส่งมอบหลักประกันอย่างอื่นใดแก่ผู้ผลิต ลูกค้ามีหน้าที่แจ้งผู้ผลิตเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดที่ขัดต่อข้อสัญญาเรื่องการให้หลักประกันตามข้อ 6.1 6.2 และ 6.3 โดยไม่ต้องให้ร้องขอหรือโดยไม่ชักช้าในขณะหรือหลังจากทำสัญญาแล้ว
6.5 การดำเนินการหรือการเปลี่ยนสินค้าที่ถูกยึดหน่วงผ่านลูกค้านั้นให้กระทำในนามของผู้ผลิต ถ้าสินค้าที่ถูกยึดหน่วงถูกดำเนินการไปพร้อมกันกับสินค้าอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นของผู้ผลิต ผู้ผลิตย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในสินค้าชิ้นใหม่ตามสัดส่วนของมูลค่าสินค้าที่ถูกยึดหน่วงกับสินค้าที่ถูกดำเนินการนั้นในเวลาขณะที่มีการดำเนินการ
หากลูกค้าเชื่อมหรือประกอบสินค้าเข้ากับสังหาริมทรัพย์อื่นจนกลายเป็นสินค้าชิ้นเดียวกัน และสินค้าชิ้นอื่นยังพอมองเห็นว่าเป็นทรัพย์ประธานได้ ลูกค้าต้องโอนความเป็นเจ้าของร่วมตามสัดส่วนให้แก่ผู้ผลิตเท่าส่วนทรัพย์ประธานที่ติดอยู่กับทรัพย์ใหม่นั้น
ลูกค้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์หรือถือกรรมสิทธิ์ร่วมแทนผู้ผลิตโดยไม่มีค่าตอบแทน นอกจากนี้ สินค้าที่ทำขึ้นมาโดยการดำเนินการหรือเปลี่ยนแปลงให้อยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขเดียวกันกับที่ใช้สำหรับสินค้าที่ถูกยึดหน่วง
6.6 หากมูลค่าของหลักประกันที่ให้ไว้ตามข้อ 6.1 ถึง 6.5 เกินสิทธิเรียกร้องตามนิติสัมพันธ์ที่มีกับลูกค้าเกินกว่า 10% ผู้ผลิตต้องคืนหลักประกันที่เกินมานั้นให้แก่ลูกค้า
6.7 ในกรณีที่
ลูกค้ามีหน้าที่เอาประกันภัยสินค้าตามมูลทรัพย์สินที่เป็นของใหม่ (replacement value) รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงทั้งหมด รวมถึงอัคคีภัย ความเสียหายจากการจลาจล การมั่วสุมก่อเหตุวุ่นวาย การลักทรัพย์ การขนส่ง การดำเนินการไม่เหมาะสม ความผิดพลาดของผู้ใช้ อุบัติเหตุ เป็นต้น และจ่ายเบี้ยประกันไปจนกว่ากรรมสิทธิ์จะโอนไปอย่างสมบูรณ์ จนกว่าจะได้รับชำระเต็มจำนวน จนกว่าจะคืนหรือเข้าครอบครองสินค้าที่ส่งมอบหรือสินค้าทดแทนชิ้นสุดท้ายให้แก่ผู้ผลิตและลูกค้า แล้วแต่กรณี (ประกันภัยเครื่องจักร) ลูกค้ามีหน้าที่เอาประกันภัยอันเกิดจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ส่งมอบเป็นระยะเวลาเท่ากันโดยค่าใช้จ่ายของตนเอง (ประกันภายความรับผิด) ลูกค้ามีหน้าที่ส่งมอบหลักฐานทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ผลิตก่อนส่งมอบสินค้า เช่น เวลาที่เตรียมสินค้าไว้เพื่อให้มารับ (ex work) (ตามข้อ 4.3) เป็นต้น ผู้ผลิตมีสิทธิปฏิเสธไม่ส่งมอบสินค้าจนกว่าจะได้รับหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ผู้ผลิตมีสิทธิเอาประกันสินค้าได้เองและเรียกค่าใช้จ่ายจากลูกค้าได้ ลูกค้าขอโอนสิทธิในปัจจุบันและอนาคตและสิทธิเรียกร้องเอากับผู้รับประกันภัยตามนิติสัมพันธ์ตามสัญญาประกันให้แก่ผู้ผลิต ผู้ผลิตขอรับเอาสิทธินั้นมา ณ ที่นี้ สิทธิต่าง ๆ ทั้งหลายให้ระงับสิ้นไปเมื่อสินค้าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้าและชำระราคาเรียบร้อยแล้ว
6.8 กรณีมีการอายัด ยึด หรือการใช้สิทธิอย่างอื่นเหนือทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้องที่มีประกันโดยบุคคลภายนอก ลูกค้าต้องแจ้งผู้ผลิตให้ทราบโดยทันทีและให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตในการป้องกันสิทธิของผู้ผลิต ค่าใช้จ่ายในการใช้วิธีการแทรกแซงทางศาลหรือนอกเหนือวิธีการทางศาลให้ตกแก่ลูกค้าเป็นผู้ออกตราบเท่าที่บุคคลภายนอกยังมิได้ชดใช้ค่าเสียหาย
6.9 การยื่นคำร้องขอให้ลูกค้าล้มละลายโดยบังคับเอากับกองทรัพย์สินของลูกค้าก่อให้สิทธิแก่ผู้ผลิตในการบอกเลิกสัญญาได้ทันทีและก่อให้เกิดสิทธิเรียกเอาสินค้าที่ส่งมอบให้คืนได้
6.10 ความในข้อ 6.1 บรรทัดที่ 3 และข้อ 6.9 ให้นำมาใช้บังคับโดยเทียบเคียงกับสินค้า อะไหล่เครื่องจักร ส่วนประกอบ และเครื่องจักรที่ใช้แล้วไม่ว่าประเภทใดซึ่งลูกค้าอาจรับมอบไว้แทนการชำระเงินตามเงื่อนไขในข้อ 6.3
7. ความรับผิดในความชำรุดบกพร่อง
7.1 กรณีเกิดความชำรุดบกพร่องในเรื่องคุณภาพของสินค้าภายในอายุความซึ่งมีขึ้นแล้วตั้งแต่ขณะเวลาที่ความเสี่ยงภัยโอนไป ผู้ผลิตมีสิทธิแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นให้หมดไปในฐานะการชำระหนี้อย่างหนึ่งหรือส่งมอบสินค้าชิ้นใหม่ที่ไม่มีความชำรุดบกพร่องได้ ผู้ผลิตมีสิทธิขจัดความชำรุดบกพร่องออกไปได้โดยการหาสินค้าเปลี่ยนหรือซ่อมแซมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องนั้นเว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย (เช่น การปฏิบัติการชำระหนี้ในสถานที่งานโดยไม่มีข้อโต้แย้ง เป็นต้น) กรรมสิทธิ์ในอะไหล่ส่วนที่เปลี่ยนใหม่ให้ตกเป็นของผู้ผลิตและให้นำความในข้อ 6 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
7.2 การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกค้าให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องก่อให้เกิดหน้าที่สำหรับลูกค้าที่จะต้องตรวจสอบสินค้าที่ส่งมอบให้ว่ามีความชำรุดบกพร่องเพียงใดโดยไม่ชักช้า โดยต้องตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์นับแต่ส่งมอบและแจ้งให้ผู้ผลิตทราบทันทีเป็นหนังสือโดยไม่ชักช้ากรณีพบความชำรุดบกพร่อง ความชำรุดบกพร่องใดที่ตรวจไม่พบในระยะเวลาดังกล่าวแม้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบแล้วก็ตามให้แจ้งผู้ผลิตให้ทราบในทันทีหลังจากตรวจสอบพบ คำว่าส่งมอบตามความในบรรทัดที่ 1 ของสัญญาข้อนี้หมายถึงเวลาขณะที่ลูกค้าได้มาซึ่งอำนาจควบคุมเหนือสินค้าที่ส่งมอบหรือเวลาขณะที่ลูกค้าอาจได้มาซึ่งอำนาจควบคุมเหนือสินค้าที่ส่งมอบโดยไม่ใช่ความผิดของลูกค้า
7.3 การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิตหรือแบบของสินค้าที่ทำขึ้นก่อนส่งมอบสินค้าตามคำสั่งซื้อภายในขอบเขตการเปลี่ยนแปลงการผลิตหรือแบบของสินค้าโดยทั่วไป ณ สถานที่ของผู้ผลิตไม่ถือเป็นความชำรุดบกพร่องในการส่งมอบตราบเท่าที่การกระทำดังกล่าวไม่ทำให้สินค้าที่ส่งมอบใช้การตามวัตถุประสงค์ของลูกค้าไม่ได้
7.4 หากไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ ลูกค้าจะต้องให้เวลาแก่ผู้ผลิตเพิ่มเติมเพื่อการแก้ไขปรับปรุงหรือเปลี่ยนสินค้าใหม่ต่อไป ร้องขอให้ลดราคาสินค้าลงจากราคาสินค้าขณะส่งมอบเนื่องจากสินค้าชำรุดบกพร่อง หรือบอกเลิกสัญญาก็ได้ แล้วแต่จะเลือก หากความชำรุดบกพร่องมีเพียงเล็กน้อย ลูกค้ามีเพียงสิทธิในการขอลดราคาเท่านั้น
7.5 ลูกค้าต้องให้เวลาหรือโอกาสแก่ผู้ผลิตหรือบุคคลภายนอกที่ผู้ผลิตแต่งตั้งในการจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องอย่างเพียงพอ (กล่าวคือการแก้ไขปรับปรุงหรือหาสินค้ามาเปลี่ยน) โดยต้องหารือกันก่อน ตราบใดที่ผู้ผลิตยังมีหน้าที่ในการแก้ไขความชำรุดบกพร่องอยู่ ลูกค้าอาจจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นได้เองหรือให้บุคคลภายนอกจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นเฉพาะกรณีจำเป็นต้องกระทำเพื่อปัดป้องมิให้เกิดภยันตรายต่อความปลอดภัยหรือป้องกันมิให้เกิดความเสียหายที่มากเกินสัดส่วนและลูกค้าได้รับความยินยอมจากผู้ผลิตแล้ว
7.6 เงื่อนไขการรับประกันสินค้าของผู้ผลิตไม่ครอบคลุมถึงค่าเสียหายโดยพฤติการณ์พิเศษอันเกิดขึ้นจากการจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องแต่อย่างใด
กรณีความชำรุดบกพร่องเกิดจากสินค้าส่วนที่ผู้ผลิตซื้อมาจากบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ขายสินค้านั้นให้อีกที ผู้ผลิตขอโอนสิทธิเรียกร้องในค่าเสียหายเอากับบุคคลภายนอกผู้ส่งมอบสินค้านั้นมาให้แก่ลูกค้า ความรับผิดในความชำรุดบกพร่องให้เป็นความรับผิดแบบจำกัดจำนวน หากลูกค้าไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิที่โอนมานี้ ผู้ผลิตต้องรับผิดต่อไปจนกว่าระยะเวลาประกันจะหมดตามเงื่อนไขในข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปฉบับนี้
7.7 ความชำรุดบกพร่องต่อไปนี้ไม่ถือเป็นความชำรุดบกพร่องในส่วนคุณภาพ
7.8 หากมีการส่งมอบซอฟต์แวร์ด้วย ห้ามมิให้ความรับผิดในความชำรุดบกพร่องรวมถึงการแก้ไขความผิดพลาดของซอฟต์แวร์และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการใช้งานอย่างไม่เหมาะสม ความผิดพลาดของผู้ใช้ ความเสียหายจากการใช้งานตามปกติ ชุดตัวแปรสำหรับการสั่งการระบบที่ไม่เพียงพอ (system environment) การใช้งานอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในรายละเอียดคุณสมบัติงาน และการบำรุงรักษาที่ไม่เพียงพอ
7.9 ลูกค้าต้องแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและละเอียดว่ามีความชำรุดบกพร่องของซอฟต์แวร์เกิดขึ้นโดยระบุข้อมูลทั้งหลายที่ทำให้สะดวกแก่การระบุและวิเคราะห์หาสาเหตุความชำรุดบกพร่องได้ นอกจากนี้ ต้องระบุลักษณะที่แสดงออกและผลที่เกิดขึ้นจากความชำรุดบกพร่องของซอฟต์แวร์ลงไปด้วย
7.10 สิทธิเรียกร้องให้รับผิดในความชำรุดบกพร่องเรื่องคุณภาพของสินค้ามีอายุความ 12 เดือน อายุความให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่ความเสี่ยงภัยโอนไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 5
7.11 ข้อสัญญาต่าง ๆ ที่ระบุไว้หัวข้อที่ 7 นี้ให้ใช้บังคับอย่างเด็ดขาดกับความรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่ผู้ผลิตส่งมอบ สิทธิเรียกร้องให้รับผิดจากเหตุอื่นใดโดยเฉพาะให้รับผิดในความเสียหายที่ไม่เกี่ยวกับสินค้าที่ส่งมอบโดยตรงให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในหัวข้อที่ 8 เท่านั้น
7.12 ในส่วนของเครื่องจักรที่ใช้แล้ว ไม่ให้นำหลักเกณฑ์เรื่องความรับผิดในความชำรุดบกพร่องเรื่องคุณภาพมาใช้บังคับ
8. ความรับผิด
8.1 ผู้ผลิตต้องรับผิดในความเสียหายกรณีจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ความเสียหายต่อร่างกาย ชีวิต และอนามัย ความชำรุดบกพร่องที่ผู้ผลิตไม่เปิดเผยให้ทราบโดยเจตนาฉ้อฉล หรือความชำรุดบกพร่องในขอบเขตที่ผู้ผลิตให้การรับประกันไว้ ผู้ผลิตต้องรับผิดอย่างจำกัดภายในขอบเขตความรับผิดต่อสินค้าและตามหลักเกณฑ์และวิธีการในกฎหมาย
ในกรณีผิดหน้าที่ในส่วนสาระสำคัญ ผู้ผลิตจะต้องรับผิดในกรณีความประมาทเลินเล่อธรรมดาด้วย แต่ต้องรับผิดไม่เกินจำนวน 10% ของราคาสินค้า หากเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากไม่เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ก็ให้จำกัดความรับผิดในความเสียหายกรณีประมาทเลินเล่อธรรมดาไว้เพียงความเสียหายตามสัญญาและความเสียหายที่คาดเห็นได้ในขณะทำสัญญา คำว่าหน้าที่ในส่วนสาระสำคัญตามความในข้อนี้อาจหมายถึงหน้าที่ในส่วนสาระสำคัญที่ระบุไว้โดยชัดแจ้งซึ่งการผิดหน้าที่ดังกล่าวย่อมทำให้วัตถุประสงค์ตามสัญญาไม่อาจบรรลุผลได้ หรือหน้าที่โดยปริยายซึ่งก่อให้เกิดเงื่อนไขที่จำเป็นและสำคัญในการปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาและลูกค้าอาจต้องปฏิบัติตามเป็นปกติ
8.2 ลูกค้าควรสำรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ไว้ก่อนการติดตั้งและควรทำอย่างต่อเนื่องในระหว่างใช้งานซอฟต์แวร์ ในกรณีข้อมูลคอมพิวเตอร์สูญหาย ผู้ผลิตจะต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายและค่าแรงในการกู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์เมื่อลูกค้าวางประกันสำหรับข้อมูลดังกล่าวแล้ว
8.3 ความรับผิดอย่างอื่นนอกจากนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเสียหายในทางการเงิน มิให้รวมอยู่ในเงื่อนไขความรับผิดนี้
ความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสูญเสียกำไร มิให้รวมอยู่ในเงื่อนไขความรับผิดนี้
8.4 การจำกัดความรับผิดที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ให้นำมาใช้บังคับในส่วนของสาเหตุและจำนวนรวมทั้งค่าเสียหายที่ลูกค้าเรียกร้องเอากับผู้แทนของผู้ผลิต ลูกจ้างของผู้ผลิต หรือตัวแทนของผู้ผลิตตามหลักความรับผิดร่วมกับบุคคลอื่นด้วย
8.5 การจำกัดความรับผิดกรณีหลัก ๆ ให้นำมาใช้กับความรับผิดกรณีละเมิดหน้าที่ลำดับรองด้วย โดยเฉพาะการละเมิดหน้าที่ในการหารือและชี้แจงก่อนปิดสัญญา
9. สิทธิในซอฟต์แวร์/การปกป้องข้อมูล
9.1 กรณีส่งมอบสินค้าที่รวมเอาซอฟต์แวร์ไว้ในนั้นด้วย ลูกค้ามีสิทธิแบบไม่เด็ดขาดที่จะใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นั้นรวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องได้ อย่างไรก็ตาม ห้ามมิให้ใช้ซอฟต์แวร์กับระบบมากกว่าหนึ่งระบบ
9.2 ลูกค้าต้องไม่ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือแปลซอฟต์แวร์หรือแปลงโค้ดคอมพิวเตอร์กลับไปเป็นซอร์สโค้ด เว้นแต่จะตกลงกันไว้เป็นพิเศษในสัญญาหรือตามกฎหมาย ลูกค้ามีหน้าที่ต้องไม่ลบหรือเปลี่ยนข้อมูลผู้ผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมายเหตุเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากผู้ผลิตก่อน
9.3 สิทธิอย่างอื่นในซอฟต์แวร์และเอกสาร รวมทั้งสำเนาของสิ่งดังกล่าว ให้คงเป็นของผู้ผลิตหรือผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่อไป ห้ามมิให้อนุญาตให้ใช้สิทธิช่วงหรือโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอกไม่ว่าในกรณีใด
9.4 ผู้ผลิตไม่ต้องรับผิดในส่วนของซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งไว้แล้วเรียบร้อยหรือที่จะติดตั้งในอนาคต (รวมถึงการอัพเกรดหรืออัพเดต) หากลูกค้าใช้ซอฟต์แวร์อย่างไม่เหมาะสม กรณีดังต่อไปนี้ถือเป็นการใช้งานที่ไม่เหมาะสมโดยลูกค้าหรือบุคคลภายนอก
9.5 นอกจากนี้ การจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในข้อ 7 และ 8 นี้ให้นำมาใช้แก่กรณีด้วย หากนำซอฟต์แวร์ไปให้เช่าภายในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ให้จำกัดความรับผิดในกรณีนี้เพียงเฉพาะการจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องตามข้อ 7 ในระหว่างที่ออกให้เช่าเท่านั้น หากไม่สามารถจัดการแก้ไขความชำรุดบกพร่องได้ ลูกค้ามีสิทธิเลิกสัญญาได้หากมีการคิดค่าเช่าแยกต่างหากและมีสิทธิลดค่าเช่าได้ตราบเท่าที่ความชำรุดบกพร่องนั้นทำให้ซอฟต์แวร์ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
9.6 หากลูกค้าได้มาซึ่งซอฟต์แวร์ใดโดยเฉพาะตามขอบสัญญาซื้อขายเครื่องจักร สินค้าที่ผลิตตามคำสั่ง หรือส่วนประกอบ หรือได้มาแบบแยกต่างหาก (เช่น ได้มาผ่านระบบจัดการเว็บไซต์แบบกลุ่ม เช่น WITOS เป็นต้น) ประสิทธิภาพการทำงานจะขึ้นอยู่กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเหตุปัจจัยทางเทคนิคและภูมิประเทศในสถานที่ที่ใช้งาน ผู้ผลิตไม่ขอให้การรับประกันใด ๆ ต่อกรณีมีเหตุขัดข้องจากฝ่ายผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (เช่น กรณีต้องทำหน้าที่บำรุงรักษาเป็นประจำ เป็นต้น) หรือข้อจำกัดเรื่องบริการโทรคมนาคมหรือแม้แต่กรณีการปิดบริการเทคโนโลยีที่ล้าสมัย (เช่น เทคโนโลยี 2G เป็นต้น) กรณีมีข้อสงสัย ให้นำความในข้อ 7.6 และ 8.3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีมีการเก็บหรือส่งต่อข้อมูลเครื่องจักร (เช่น ข้อมูลการทำงาน เวลาที่เครื่องแสตนด์บาย เป็นต้น) ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ผลิตมีสิทธิวิเคราะห์ ดำเนินการ และใช้ข้อมูลดังกล่าวได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการจัดการภายในเท่านั้น เว้นแต่ลูกค้าจะคัดค้านอย่างชัดแจ้ง การเปิดเผยข้อมูลใด ๆ ให้แก่บุคคลภายนอก เช่น เพื่อวัตถุประสงค์ในการอ้างอิงและเปรียบเทียบ ให้กระทำได้หากดำเนินการโดยไม่เปิดเผยรูปชื่อหรือลูกค้าให้ความยินยอมอย่างชัดแจ้งเมื่อร้องขอให้เปิดเผยได้
9.7 กรณีข้อมูลดังกล่าวถูกเก็บไว้เพื่อการติดตั้ง อัพเกรด หรืออัพเดต ให้นำความดังต่อไปนี้มาใช้บังคับ
ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยการปกป้องข้อมูล โดยเฉพาะในกรณีติดตั้งซอฟต์แวร์ ห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้บุคคลภายนอกทราบ แต่ให้เก็บ ดำเนินการ และใช้ เป็นการภายในเท่านั้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญา ข้อมูลนี้ต้องลบทิ้งหากไม่จำเป็นอีกต่อไป หากเงื่อนไขเรื่องระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตามกฎหมายขัดกับการลบข้อมูล ให้บล็อคข้อมูลดังกล่าวแทนการลบตามหลักเกณฑ์ในข้อบังคับตามกฎหมาย
หากจำเป็นต้องกระทำไปตามข้อบังคับว่าด้วยการปกป้องข้อมูล ลูกค้าต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลนั้นก่อนทำสัญญาใดที่เกี่ยวข้อง
10. สิทธิในความเป็นเจ้าของบุคคลภายนอก
10.1 ผู้ผลิตต้องรับผิดกรณีมีการละเมิดสิทธิในความเป็นเจ้าของของบุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากสินค้า/บริการเพียงเท่าที่สินค้า/บริการนั้นได้นำมาใช้ไปตามวัตถุประสงค์ของสัญญา ผู้ผลิตต้องรับผิดในการละเมิดสิทธิของบุคคลภายนอกเฉพาะในเขตพื้นที่ที่มีการใช้สินค้า/บริการตามสัญญาเท่านั้น (กล่าวคือสถานที่ที่ส่งมอบสินค้า) ห้ามมิให้เรียกร้องให้รับผิดกรณีเกิดความชำรุดบกพร่องหากความชำรุดบกพร่องนั้นเกิดจากสินค้า/บริการไม่เป็นไปตามคุณภาพที่รับรองไว้ในสัญญาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
10.2 หากมีบุคคลภายนอกมารอนสิทธิในสินค้า/บริการ ลูกค้าต้องแจ้งให้ผู้ผลิตทราบโดยพลัน ผู้ผลิตมีสิทธิดำเนินการต่อสู้ได้โดยเสียค่าใช้จ่ายเองและไม่ถือเป็นหน้าที่ ลูกค้าไม่มีสิทธิทำการรับรองตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้องก่อนผู้ผลิตจะได้มีโอกาสต่อสู้ป้องกันสิทธินั้นเสียก่อน
10.3 หากมีการใช้สิทธิดังกล่าวแล้ว ผู้ผลิตอาจได้สิทธิในการใช้หรือเปลี่ยนซอฟต์แวร์ (โปรแกรมที่ได้รับอนุญาตให้ใช้) หรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากัน หรือ – ผู้ผลิตไม่จัดการเยียวยาตามสมควร - เรียกสินค้า/บริการคืนและชดใช้ราคาหรือค่าธรรมเนียมที่ลูกค้าจ่ายไปโดยหักค่าใช้สินค้าหรือบริการออกด้วย กรณีนี้ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าด้วย
10.4 ในส่วนของค่าเสียหายและการชดใช้ค่าทดรองจ่าย ให้นำความในข้อ 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
11. การควบคุมการส่งออก
11.1 การส่งมอบสินค้าตามสัญญาฉบับนี้ต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องการควบคุมการส่งออกในประเทศหรือระหว่างประเทศ เช่น เรื่องการคว่ำบาตรสินค้า เป็นต้น ลูกค้ามีหน้าที่ต้องให้ข้อมูลและเอกสารทั้งหลายที่จำเป็นต่อการดำเนินการส่งออกหรือโอนสิทธิ ความล่าช้าเนื่องจากการตรวจสอบในระหว่างขั้นตอนการส่งออกหรือการดำเนินการขอใบอนุญาตมีผลเป็นการผ่อนเงื่อนเวลาทั้งหลายและกำหนดเวลาส่งมอบออกไป หากไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการใดที่จำเป็น หรือสินค้าหรือบริการใดไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับการอนุญาตได้ ห้ามมิให้ถือว่ามีการทำสัญญาขึ้นในส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตดังกล่าว
11.2 ผู้ผลิตมีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีจำเป็นเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับตามกฎหมายภายในหรือกฎหมายระหว่างประเทศ
11.3 ในกรณีเลิกสัญญาตามข้อ 11.2 ให้สิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายหรือการใช้สิทธิอื่นใดโดยลูกค้าอันเนื่องมาจากการเลิกสัญญานี้เป็นอันระงับไป
11.4 เมื่อลูกค้าส่งมอบสินค้าให้แก่บุคคลภายนอกไม่ว่าในประเทศหรือนอกประเทศ ลูกค้าต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องรวมทั้งกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศเสมอ
12. กฎหมายที่ใช้บังคับ เขตอำนาจ ข้อสัญญาแยกส่วน
12.1 นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับลูกค้าให้เป็นไปตามกฎหมายที่สำนักงานจดทะเบียนของผู้ผลิตตั้งอยู่ อนุสัญญาว่าด้วยการขายสินค้าระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (CISG) มิให้นำมาใช้บังคับ
12.2 ให้ศาลในเขตที่ตั้งที่ทำการใหญ่ของผู้ผลิตเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือข้อพิพาททั้งหลายระหว่างผู้ผลิตกับลูกค้าที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากนิติสัมพันธ์ตามสัญญาฉบับนี้ รวมถึงข้อพิพาทเกี่ยวกับตั๋วเงินและเช็คด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตก็มีสิทธิเลือกฟ้องลูกค้าในศาลที่มีลูกค้ามีภูมิลำเนาอยู่ได้
12.3 หากข้อสัญญาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปเรื่องการขายและการจัดสินค้าฉบับนี้ตกเป็นโมฆะไม่ว่าด้วยเหตุใด ห้ามมิให้ส่วนที่เป็นโมฆะดังกล่าวกระทบกระเทือนต่อความสมบูรณ์ของข้อสัญญาส่วนอื่น ลูกค้าและผู้ผลิตมีหน้าที่แก้ไขข้อสัญญาส่วนที่เป็นโมฆะนั้นให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้และใกล้เคียงกับเนื้อหาในทางเศรษฐกิจตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด กรณีดังกล่าวนี้ให้นำมาใช้โดยเทียบเคียงเพื่ออุดช่องว่างอาจเกิดขึ้น
กันยายน 2564
1. Scope
1.1 All offers to hire machines shall be made exclusively on the basis of these General Terms and Conditions of Hire. Conflicting or deviating terms and conditions of a Lessee shall not be accepted. This shall apply even if the Lessor delivers the machine to the Lessee without restriction with knowledge of the Lessee’s conflicting or deviating terms and conditions. Deviations from these Terms and Conditions of Hire shall only be valid when confirmed by the Lessor in writing.
1.2 These Terms and Conditions of Hire shall also apply to all future transactions of the same kind with the same Lessee, without specific further agreement being required.
1.3 Services involving on-site installation are additionally subject to the Lessor’s Terms and Conditions of Repair and Installation.
2. Offer and conclusion of agreement
2.1 The Lessor’s offers are always subject to confirmation, unless expressly otherwise stated. Cost estimates are non-binding. Unless otherwise agreed, first offers or cost estimates shall be provided free of charge. The Lessor reserves the right to charge a reasonable fee for further offers or cost estimates as well as for draft works if no rental agreement comes into existence.
2.2 A rental agreement shall come into existence only upon written confirmation by the Lessor. Any changes, amendments or side agreements shall also require written confirmation by the Lessor.
2.3 The documents relating to the offer, including but not limited to illustrations, drawings, and details on weight and measurements, are approximations only, unless they are expressly marked as binding by the Lessor.
2.4 The Lessor reserves all ownership and copyrights to illustrations, drawings, cost estimates, calculations and other documents, which shall not be disclosed to any third party without the Lessor’s express prior written consent. They are to be returned to the Lessor without delay
(i) if no rental agreement comes into existence, or
(ii) as soon as the rental agreement has been executed in full.
2.5 Where the Lessor lends the machine (e.g. for demonstration purposes or as an interim measure), the provisions of the rental agreement shall apply mutatis mutandis.
3. Rental period
3.1 Unless otherwise agreed, the rental period shall start upon delivery to the Lessee (see clause 8.1). If the parties have not agreed on an end date, the Lessee and the Lessor shall agree on a basic rental period on a daily, weekly or monthly basis starting on the delivery or on the agreed date. Unless otherwise agreed, the basic rental period shall be one month.
3.2 In the event the machine has not been returned to the Lessor after expiry of the basic rental period, the rental agreement shall be extended automatically by a period which corresponds to the basic rental period, unless such agreement is terminated in good time before expiry of the basic rental period or any subsequently extended rental period. Notice of termination shall be deemed to have been given in good time if it is received by the Lessor not later than three working days before the end of the rental period if the basic rental period has been agreed on a daily basis, not later than one week before the end of the rental period if the basic rental period has been agreed on a weekly basis, and not later than one month before the end of the rental period if the basic rental period has been agreed on a monthly basis.
3.3 Notice of termination must be given in writing without the necessity to specify reasons.
3.4 At the end of the rental relationship, the Lessee must promptly return the machine in a proper condition, e.g. in particular clean and workable. The machine is to be returned completely, e.g. including all add-ons and components, cleaned and undamaged.
3.5 Any defects in or damage to the machine which go beyond normal wear and tear, and/or have arisen through incorrect use, shall be the responsibility of the Lessee.
3.6 In the event the Lessee continues to use the machine after termination of the agreement by giving notice of termination, the rental relationship shall not be regarded as having been extended. A tacit extension of the rental relationship shall not apply. If the Lessee fails to return the machine at the end of the rental relationship, the Lessor may request the agreed rent for the duration of the failure to return as compensation or, in case no rent was agreed, at a usual market rental rate. The Lessee waives any right of retention for whatever reason.
3.7 If the Lessee defaults on payment, the Lessor shall be entitled to claim default interest. The default interest rate per annum amounts to eight percentage points above the basic rate. The basic rate changes every 1st January and 1st July of a year by the percentage by which the reference basic rate has increased or decreased since the last change in the basic rate. The reference base is the interest rate for the most recent principal financing transaction of the European Central Bank before the first calendar day of the relevant half year. The Lessor may assert higher default damage if proof is provided. However, the Lessee is entitled to prove that the damage incurred as a result of the default in payment was lower.
3.8 If the Lessor becomes aware of circumstances that call the Lessee’s creditworthiness into question, then all deferred claims shall immediately fall due for payment. Furthermore, the Lessor may in such case request advance payment or the provision of security.
4. Rent and payment of rent
4.1 The rent shall be charged according to depending on the basic rental period agreed (clause 3.1), i.e. per day, week or month. The calculation of the rent is based on the normal monthly working hours, i.e. a maximum of 8 hours of use per day. If, on this basis, the calculated period of use is expected to be exceeded or is actually exceeded by more than 5%, the Lessor may adjust the rent according to the expected or actual period of use. The Lessee shall notify the Lessor without delay of the actual or expected additional use of the machine.
4.2 The rental price does not include the statutory value added tax. The parties endeavour to avoid any unnecessary expenses or infringements of tax or customs regulations. The Lessee is therefore obliged to provide all requisite information where necessary. The parties will strive in all cases where legally permissible to ensure that the Lessor receives the full rent without any deduction whatsoever. Charges, taxes or customs duties shall be borne by the Lessee.
4.3 The rent does not cover wear and tear of wearing parts. The Lessor is entitled to charge the Lessee the costs for wear and tear in accordance with the use of the machine.
The calculation of the costs for wear and tear of wearing parts shall be based on the data on wear and tear set out in checklists or comparable records providing information on the condition of the machine. The costs shall be calculated as a percentage, depending on the current selling price of the respective wearing parts plus any work time which may be incurred. Other costs for the operation and repair of the machine during the rental period shall be borne by the Lessee.
4.4 The Lessor shall issue rent invoices. The Lessor is entitled to issue partial invoices during the basic rental period. If the basic rental period has been agreed for days or weeks, the Lessor is entitled to invoice at weekly intervals. If the basic rental period is in weeks or months, the Lessor may issue partial invoices at monthly intervals. The amount of the partial invoices shall be determined proportionately.
4.5 The Lessor is entitled to request advance payments. If the Lessor requests an advance payment before delivering the machine for duration of the basic rental period, the Lessor may refuse to surrender the machine until receipt of the advance payment has been received.
4.6 The rent shall be payable, without any deduction, not later than 8 days from the date of invoice.
4.7 The Lessee shall not be entitled to offset, withhold or reduce the rent, unless any counterclaims are either not disputed by the Lessor or have been established by final and non-appealable judgement. The same shall apply in the case of an assertion of warranty claims.
4.8 Any fees under public law, premiums and other charges levied during the agreement due to the rent, possession or use of the machine, shall be borne by the Lessee. This shall also apply to investigations ordered by authorities. If any such claims are asserted against the Lessor or if the Lessor is required to make advance payments, the Lessee is obliged to reimburse the costs to the Lessor.
4.9 Delays in the delivery of the machine due to force majeure or other events which substantially impede or prevent delivery by the Lessor, such as war, terrorist attacks, import and export restrictions, strike, lockout or orders made by the authorities, even if they relate to the suppliers or sub-suppliers of the Lessor, shall not entitle the Lessee to terminate the rental agreement unless otherwise agreed. If possible, the Lessor shall inform the Lessee about the start, end and expected duration of the aforementioned circumstances.
4.10 The Lessor is not in default if the Lessor provides the Lessee with a replacement, in compliance with the agreed delivery date, for the time until the delivery of the actual machine, provided that such replacement meets the Lessee’s technical and functional requirements in all material respects, and the Lessor bears all costs incurred for providing the replacement.
4.11 If the Lessor is in default and the Lessee suffers any damage as a consequence, the Lessee shall be entitled to request lump sum default compensation. Such compensation shall amount to 0.5 % of the value of that part of the entire delivery which cannot be used in time or according to the agreement due to the delay for each full week of delay, up to a maximum of 5 % of such value in total. Any additional claim for damages based on default shall be excluded.
5. Duties of the Lessee
5.1 The Lessee is obliged:
The Lessee shall indemnify the Lessor against any third party claims that may arise from culpable non-compliance with these duties.
5.2 Upon request, the Lessee shall grant the Lessor or the Lessor’s agents access to the machine at any time during normal working hours and upon prior agreement in order to check the use and operability of the machine. Any costs that are directly or indirectly incurred by either party in this connection shall be borne by such party itself.
6. Sub-letting
6.1 The Lessee may only sub-let the machine to a third party, assign rights under this Agreement or grant rights to the machine of any kind with the Lessor’s prior written consent.
6.2 The Lessee shall be responsible for any fault of a third party which it authorised to use the machine to the same extent as for its own faults and shall accept such fault.
6.3 The Sub-lessee shall be advised that it may acquire the machine only with the consent of the owner (Lessor). On signing the sublease agreement, the Sub-lessee shall confirm in writing knowledge of the ownership relationships and requirements of consent by the Lessor for any intended acquisition of the machine. The Lessee shall immediately notify the Lessor in case of the termination of the sublease.
7. Pledging of the machine or similar
7.1 In the event of acts of authorities, confiscations, pledges or similar, irrespective of whether they are initiated at the instigation of an authority or of a private person, the Lessee shall immediately inform the authority or other party about the ownership relationships verbally and in writing and also notify the Lessor without delay, providing all necessary documents.
7.2 The Lessee shall immediately notify the Lessor if a compulsory sale or compulsory administration is filed with respect to the property on which the machine is located.
7.3 The Lessee shall bear the costs for any measures to rectify any such interventions.
8. Transfer of risk
8.1 The delivery shall be made on the date of the contractually agreed delivery or on the date of the actual delivery, whichever comes first. When the machine is delivered, a checklist or a handover document shall be prepared in order to determine the condition of the machine. The Lessee undertakes to cooperate in preparing and completing the documents on delivery. For this purpose, the Lessee or an authorized employee or a third party shall be present when deliveries are made. If this is not the case, the machine shall be deemed to have been handed over as recorded by the Lessor.
8.2 Upon delivery, the risk of loss or damage to the machine shall pass to the Lessee. Delivery shall be deemed to have been made even if the Lessee is in default of acceptance according to §293 BGB (German Civil Code).
The place of delivery (place of performance) is always the premises of the Lessor, irrespective of whether the machine is shipped by the Lessor, brought to the Lessee’s premises or its place of use by the Lessor or a third party commissioned by the Lessor or is collected by the Lessee itself or by a third party commissioned by it.
If the machine is located at a different place before the start of the rental period or transfer (for example at the premises or place of use of a previous lessee or at the manufacturer) and if it is shipped or transported from there by the Lessor or an affiliated company or by a third party commissioned by them to the Lessee for use or if the Lessee or a third party commissioned by it collects the machine at such place, this place shall be equivalent to the Lessor's premises.
8.3 The Lessee shall bear the costs of commissioning and maintenance work arising from any damage that occurs after the risk has been transferred to the Lessee. This shall also apply in the event of theft or other loss as well as destruction or significant deterioration which makes repair uneconomical. In this case, the Lessee shall reimburse the Lessor the fair value of the lost machine.
8.4 The Lessee shall cease to bear the risk as soon as the machine has been returned to the Lessor's premises due to or following the end of this Agreement (date of the actual return).
For the return of the machine, the place of delivery shall also be the Lessor’s premises, irrespective of whether the machine is shipped by the Lessee, brought to the Lessor’s premises by the Lessee or a third party commissioned by the Lessee or collected by the Lessor itself or by a third party commissioned by the Lessor.
If the Lessee ships or transfers the machine to a different place (for example to the place of use of a subsequent Lessee or to a purchaser) on prior instruction of the Lessor or if the machine is collected by the Lessor or a third party commissioned by the Lessor from the Lessee and brought to a place other than the Lessor's premises, this place shall be equivalent to the Lessor's premises.
8.5 If shipping is delayed or omitted due to circumstances not attributable to the Lessor, the risk shall pass to the Lessee as from the date of notification of readiness for shipping or acceptance.
8.6 If the Lessee is in default of delivery or infringes any other obligations to cooperate, the Lessor shall be entitled to request compensation for the damage incurred, including any additional expenses, in particular the costs incurred by the delayed acceptance of delivery.
9. Liability of the Lessee
9.1 The Lessee shall be liable for the operational risk associated with the machine.
9.2 If third parties claim damages from the Lessor or from a company affiliated with the Lessor due to personal injury or damage to property – irrespective of the legal reason – based on the operational risk associated with the rented machine the Lessee shall indemnify the Lessor within their internal relationship against all such claims and costs.
9.3 In the event of a claim of any kind whatsoever the Lessee shall be obliged to immediately notify the Lessor about the circumstances, extent and parties involved and to provide the Lessor with all requisite information.
10. Liability for defects and compensation of damages by the Lessor
For all claims for damages asserted by the Lessee which are not governed by this Agreement – irrespective of the underlying legal foundation – and in particular claims for compensation which do not relate to the machine itself, the Lessor shall be liable only:
In the case of culpable infringement of material contractual obligations, the Lessor shall also be liable for gross negligence of non-executive employees and for slight negligence, though in the latter case liability shall be limited to typical and reasonably foreseeable damage.
All further claims, in particular liability for consequential damage, shall be excluded.
11 Machine and business liability insurance
11.1 The machine and its operation must be covered by insurance.
11.2 The machine insurance may be taken out by the Lessee or by the Lessor after agreement.
In the event that the parties agree that the Lessee should insure the machine, or if the parties have not made any agreement, the Lessee shall be obliged to take out a machine insurance (including the risk of transportation) at the replacement value, including all ancillary costs, in favour of the Lessor for the duration of the rental period or for the duration of use covering all risks including fire, natural hazards, vandalism, theft, transportation etc.
The Lessee assigns its current and future rights and claims against its machine insurer arising out of the insurance policies for which it has assumed the burden of insurance here and now to the Lessor. The Lessor hereby accepts the assignment.
The insurance of the Lessor must contain the following provisions which the insurer must confirm:
11.3 The following applies to business liability insurance:
The Lessee undertakes to insure the operating risk associated with the machine in all events at its own cost (liability insurance).
11.4 Before the machine is handed over, the Lessee shall prove - by presentation of a suitable insurance certificate or certificates - that the rented machine is covered by business liability insurance for the duration of the rental agreement and, where the Lessee has committed to taking out machine insurance, is covered by machine insurance. The requisite insurance certificate or certificates must contain all necessary details on the type, scope and duration of the respective insurance.
Failure to submit insurance certificates or the submission of incomplete insurance certificates upon the handover of the machine shall entitle the Lessor to retain the machine until such time as the requisite insurance certificates have been provided. If the Lessor does not exercise its right of retention, the Lessee shall submit to the Lessor the requisite insurance certificate(s) without delay and not later than 10 working days after handover of the rented machine. If the insurance certificate(s) are not submitted, the Lessor is entitled to take out the requisite insurance at the Lessee's expense. In the intervening time until insurance certificate(s) have been submitted or the requisite insurance policies have been taken out by the Lessor, the Lessee shall be liable – subject to clause 10 of these Terms and Conditions of Hire – for all damages, including without limitation consequential damages, arising for any reason whatsoever associated with the lack of insurance cover although such cover has been agreed.
In the event of retention, the Lessor is entitled to request the agreed rent at the beginning of the rental period.
11.5 Any deductibles due under the respective insurance policies shall be borne by the Lessee in the case of a claim, irrespective of whether the insurance was taken out by the Lessee or the Lessor.
11.6 If the rented machine has been subjected to a criminal act (theft, possibly also of spare parts, embezzlement, criminal damage to property or similar), the Lessee shall promptly file a complaint with the competent authority (public prosecutor office, police) and notify the Lessor immediately. If the return of the machine is impossible due to the criminal act (particularly in the case of theft or embezzlement), and if no insurance cover exists in whole or in part - for whatever reason -, the Lessee shall also be liable if it is without fault and shall reimburse the Lessor with the fair value of the machine at the time of theft or embezzlement. The fair value shall be equal to the amount which the Lessor must pay to purchase an equivalent machine.
12. Termination without notice
The Lessor shall be entitled to terminate the Agreement without notice if:
13. Modifications to the machine
Modifications to the machine, in particular attaching, installing and removing parts, must not be made without the consent of the Lessor. If changes have been made with the Lessor's consent, the Lessee shall at its own expense restore the machine to its original condition at the end of the rental agreement.
14. Statute of limitations
All claims which the Lessee may have for whatever reason shall fall under the statute of limitations within twelve months. The statutory period shall apply to claims for damages set out in clause 10.
15. Rights to software / data protection
15.1 If the machine contains software, the Lessee is granted a non-exclusive right to use the delivered software, including its documentation, for application on the machine intended for this purpose. Using the software in more than one system is prohibited.
15.2 The Lessee may reproduce, revise or translate the software or convert the object code into the source code only to the extent permitted by law. The Lessee undertakes not to remove or change any manufacturer information, in particular copyright notes, without the Lessor’s express prior approval.
15.3 All other rights to the software and any related documentation, including copies thereof, shall remain with the Lessor or software provider. The granting of sub-licences or any passing-on to third parties in any other form is prohibited.
15.4 The Lessor shall not be liable for software which is already installed or will be installed in the future (including any software upgrades or updates) if the Lessee uses the software improperly. In particular, an improper handling or use is deemed to have occurred if the Lessee or a third party:
15.5 The Lessor is entitled to equip the machine with Fleet View and similar systems (e.g. WITOS or similar), which store machine data (e.g. on ongoing operations, standby times, etc.) and transmit them to the Lessor. The Lessor is entitled to analyse and process such data and use them without restrictions and without charge for internal purposes, unless the Lessee expressly objects. The data may be disclosed to third parties, e.g. for purposes of reference and comparison, if the data is anonymised or if the Lessee, upon request, expressly consents to the disclosure.
15.6 For the event that personnel data are stored within the scope of installation, upgrade or update, the following shall apply:
The Lessor ensures compliance with the statutory data protection regulations. In particular, as far as this is required for installing software, any provided personal data shall not be disclosed to any third party; rather, any such personal data shall be processed and used exclusively internally for performing the rental agreement. The data shall be deleted when no longer necessary. Should such deletion not be possible due to statutory retention periods, such data shall be blocked instead of deleted, in accordance with the applicable statutory regulations.
Where required by the statutory data protection regulations, the Lessee shall, prior to the conclusion of the respective agreement, obtain the necessary written consent of the person whose personal data are required for satisfying the Agreement.
16. Proprietary rights of third parties
16.1 The Lessor shall only be liable for infringement of third party rights resulting from the use of the machine by the Lessee in accordance with the rental agreement for the intended purpose.
16.2 If any third party asserts claims against the Lessee for infringements of its rights by the Lessee, the Lessee shall notify the Lessor without delay. The Lessor shall be entitled, without being obliged, to defend against the asserted claims at its own expense to the extent permitted by law. The Lessee is not entitled to acknowledge any third party claims before having given the Lessor reasonable opportunity to defend against third party rights by other means.
16.3 Clause 10 shall additionally apply with regard to any claims for damages and reimbursement of expenses.
17. Export control
17.1 Any delivery of the machine outside of the country in which the Lessor is domiciled shall be subject to the proviso that performance does not conflict with any national or international export control regulations, for example embargoes or other sanctions. The Lessee undertakes to provide all information and documents required for the export or transfer. Delays resulting from export controls or permission procedures shall set aside any delivery periods agreed. If necessary permissions are not granted, or if the usage cannot be approved, the rental agreement shall be deemed as not concluded with regard to the subject matter concerned.
17.2 The Lessor is entitled to terminate the rental agreement without notice if termination on the part of the Lessor is required for compliance with national or international legal regulations.
17.3 In the event of a termination under clause 17.2, the assertion of any claim for damages or the assertion of other rights by the Lessee based on the termination shall be excluded.
17.4 The Lessee is not entitled to use or sub-let the machine abroad if this is contrary to national and international export control law.
18. Applicable law, place of jurisdiction, severability clause
18.1 The contractual relationship between the Lessor and the Lessee shall be exclusively subject to the laws of the country in which the Lessor has its registered office.
18.2 Exclusive place of jurisdiction for all disputes arising from the contractual relationship between the Lessor and the Lessee, including claims arising from bills of exchange and cheques, shall be the court competent for the Lessor’s principal place of business. However, the Lessor may, at its discretion, also bring action against the Lessee at the latter’s general place of jurisdiction.
18.3 If one or several provisions or parts of any provision of these Terms and Conditions of Hire are or become invalid for any reason whatsoever, this shall not affect the validity of the remaining provisions. The Lessee and the Lessor undertake to replace the invalid provisions or partial provisions by such legally valid provisions which most closely approximate the economic intent of the invalid provisions